การแนะแนวการศึกษา (Educational Guidance)
การแนะแนวการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่วันแรกของนักศึกษาที่เข้าสู่สถานศึกษา
และดำเนินไปจนถึงการสิ้นสุดการเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับสูง
ประกอบด้วยกิจกรรม 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
กิจกรรมช่วยเหลือนักศึกษาด้านการเรียน คือ การให้ข้อสนเทศทางการเรียนการศึกษาต่อ
การทำงานเพื่อหารายได้ระหว่างเรียน
การติดต่อขอรับทุนทางการศึกษาวารสารและหนังสือทางราชการแนะแนวทางการศึกษา
ประการที่สอง การช่วยเหลื่อนักศึกษาด้านการปรับตัว ส่งเสริมทางด้านสติปัญญา
ตลอดจนความเข้าใจในเรื่องความสามารถของตนเองให้สามารถตัดสินใจเพื่อมุ่งความสำเร็จทางด้านการศึกษา
ความสามารถทั่วไป ความถนัดเฉพาะ ค่านิยม
การค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลและนักศึกษาที่มีแนวโน้มของความเคลื่อนไหวด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้รับข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนและสามารถเข้าใจคุณสมบัติของบุคคลที่จะศึกษาต่อ
2. เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถปรับตนเองไห้เข้ากับการเรียนในแต่ละสาขาวิชา
และวางแผนทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
วิธีการขอรับบริการ
1. การติดตามผลจากระเบียนการเรียน
2. การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลและรายกลุ่มทางการศึกษา
3. การใช้แบบสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการเรียน
โดยใช้วิธีการสอบถามนักศึกษาสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษา
4. การใช้แบบทดสอบความสมารถทางการเรียน
5. การจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาหรือชั่วโมงโฮมรูม
6. การจัดแนะแนวหมู่โดยอภิปราย
บรรยาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้รับข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนและสามารถเข้าใจคุณสมบัติของบุคคลที่จะศึกษาต่อ
2. เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถปรับตนเองไห้เข้ากับการเรียนในแต่ละสาขาวิชา และวางแผนทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสม
วิธีการขอรับบริการ
1. การติดตามผลจากระเบียนการเรียน
2. การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลและรายกลุ่มทางการศึกษา
3. การใช้แบบสอบถามปัญหาเกี่ยวกับการเรียน โดยใช้วิธีการสอบถามนักศึกษาสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษา
4. การใช้แบบทดสอบความสมารถทางการเรียน
5. การจัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาหรือชั่วโมงโฮมรูม
6. การจัดแนะแนวหมู่โดยอภิปราย บรรยาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น